วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

การเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก

การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก 🌏🌏
การเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรามีปัจจัยที่ทำให้เปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุและมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ 1. แรงจากภายในเปลือกโลก เรียกกระบวนการ เทคโทนิก เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ เทคโทนิก
 มี 2 กระบวนการคือ
  1. ไดแอสโตรฟิซึม (diastrophism) เป็นกระบวนการแตก หัก โก่ง งอ บิด ของเปลือกโลก เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เกิดจากการยืดหดตัวของเปลือกโลกทั้งหมด เช่นการเลื่อนตัวของเปลือกโลก (fault) ทำให้เกิดรอยแตกร้าวที่อยู่แนวตั้งเรียก รอยต่อ (Joint) รอยแตกจะเหลือน้อยเมื่อลงไปในระดับลึก แรงกดที่ทำให้เปลือกโลกแตกและเลื่อนทำให้ชั้นของหินเปลือกโลกสลับกัน
    - ถ้ารอยเลื่อนขนาบหุบเขาที่ 2 ข้างส่วนที่ยุบลงเป็นหุบเขาเรียกว่า “กราเบน” (graben)
    - ถ้า ส่วนที่ยกตัวขึ้น ขนาบทั้ง 2 ข้างด้วยรอยเลื่อนส่วนที่ดันตัวสูงขึ้นเรียก“ฮอร์ส” (horst) การโก่งตัวของเปลือกโลก(fold) การบีบอัดทำให้เปลือกโลกโก่ง พับ งอ ส่วนที่โค้งขึ้นเรียกประทุนคว่ำ (anticline) ส่วนที่โก่งเรียกประทุนหงาย (syncline)
  2. วอลคานิสซึม (volcanism) เป็นกระบวนการของวัตถุละลายภายในโลกเคลื่อนที่ ทำให้เปลือกโลกสั่นเสทือน วัตถุละลายล้นไหลออกมาทับถมภายนอกเปลือกโลกเช่น หินละลายเคลื่อนที่มายังเปลือกโลกดันออกมาเกิดภูเขาไฟระเบิดพ่นลาวาออกมาหรือหินบะซอลต์ไหลออกมาดันตัวแข็งอยู่ใต้เปลือกโลกคล้ายกำแพงเรียก ไดค์(dike) ถ้าดันตัวออกมาเป็นบริเวณกว้างทำให้บริเวณนั้นถูกยกตัวด้วยเรียก แลคโคลิธส์ (laccoliths) หินละลายที่ดันตัวถูกยกตัวแข็งตัวอย่างช้าๆใต้เปลือกโลกทำให้หินชั้นที่สัมผัสกับหินละลายได้รับความร้อนและแรงบีบกลายเป็นหินแปร แร่ที่ อยู่ในหินละลายตกผลึกจึงพบแร่มีค่าในบริเวณที่หินละลายดันตัวขึ้นมา แผ่นดินไหวเป็นผลจากแรงภายในโลกทำให้เปลือกโลกสั่นเสทือน


                                   ภาพรอยคดโค้ง                   ภาพรอยเลื่อน

การเกิดภูเขาไฟ ภูเขาไฟ (Volcano) เกิดจากหินหนืดในชั้นแมนเทิลซึ่งอยู่ใต้ผิวโลก มีความร้อนและความ ดันสูงมาก พยายามดันขึ้นมาตามรอยแตกและแทรกตัวขึ้นมาสู่ผิวโลก โดยจะมีแร่ปะทุหรือระเบิดเกิดขึ้นทำให้หินหนืดไหลออกมาสู่ผิวโลก ที่เรียกว่าลาวา (Lava) ไหลมาจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ สิ่งที่ พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟนอกจากลาวาแล้วยังมีเถ้าถ่าน ฝุ่นละออง เศษหิน ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 
บริเวณที่เกิดภูเขาไฟ แนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟระเบิดมากกว่าบริเวณที่อยู่ถัดเข้าไปภายในแผ่นทวีป 

การเคลื่อนที่ของหินหนืด หินหนืดหรือหินหลอมเหลวในชั้นแมนเทิลได้รับความร้อนจากแก่นโลก เกิดการเคลื่อนที่ไหลวนอย่างช้าๆ และส่งผลดันแผ่นเปลือกโลกให้เคลื่อนที่ไปอย่างช้าๆ ตามหินหนืดไปด้วยแรงดันของหินหนืด ทำให้หินหนืดในชั้นแมนเทิลที่มีอุณหภูมิและแรงดันสูงสามารถแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทร หินหนืดในชั้นแมนเทิล จึงทำหน้าที่เป็นตัวดันและพยุงให้แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรเคลื่อนที่ และขยายตัวแยกออกจากกัน ทำให้เกิดแนวหินใหม่ 

ผลที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เป็นไปอย่างช้าๆ ด้วยอัตราเร็วที่ต่ำมาก แต่มีแรงดันอย่างมหาศาล ทำให้ขอบอีกด้านหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าไปชนกับขอบแผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง เช่น แผ่นออสเตรเลีย เคลื่อนที่เข้าชนแผ่นยูเรเซีย การชนกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองนี้ ทำให้บางบริเวณเกิดการเปลี่ยนแปลง คือแผ่นออสเตรเลียมุดตัวเข้าสู่ใต้แผ่นยูเรเซีย และมุดหายไปในส่วนแมนเทิลของโลกที่มีความร้อนสูงจึงทำให้เกิดการหลอมตัวของหินเปลือกโลก นอกจากนั้นการชนของแผ่นออสเตรเลีย และแผ่นยูเรเซียนี้ยังส่งผลให้เปลือกโลกบางส่วนถูกดันตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาสูง เช่น บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย 

การเกิดแผ่นดินไหว ความร้อนจากแก่นโลกนอกจากจะทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้แล้วยังทำให้เปลือกโลกส่วนล่างขยายตัวได้มากกว่าผิวบน ทั้งนี้เพราะที่ผิวโลกมีอุณหภูมิต่ำกว่าแก่นโลกมาก และบริเวณผิวโลกยังมีการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิอยู่ตลอดเวลา อิทธิพลนี้จะส่งผลกระทบต่อรอยแตกในชั้นหิน และรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 
ผลกระทบการเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ทำให้เปลือกโลกทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วส่งผล ให้อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง เกิดการพังทลาย แผ่นดินถล่ม เกิดคลื่นขนาดใหญ่ในทะเล มนุษย์ ไม่สามารถยับยั้งการเกิดแผ่นดินไหวได้ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบการเกิดแผ่นดินไหว เรียกว่า เครื่องวัดความไหวสะเทือนหรือไซโมกราฟ (Seismograph) ซึ่งจะบันทึกการสั่นไหวของแผ่นดิน การวัดแผ่นดินไหว ปัจจุบันใช้มาตราริกเตอร์ คือ กำหนดขนาด (magnitude) ของแผ่นดินไหวโดยใช้หลักการจากผลบันทึกของเครื่องวัดความเคลื่อนไหวสะเทือนมาตรานี้มีค่าตั้งแต่ 0 - 9 ริกเตอร์ แต่ถ้าเป็นมาตราเมอร์คัลลิปรับปรุงแล้วจะวัดความรุ่นแรงของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้มาตรา 12 ระดับ
ทวีปเลื่อน ( Continental Drift )


ในภาพแสดงให้เห็นว่าเมื่อ 200 ล้านปีก่อน ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา อินเดีย ออสเตรเลีย เคยอยู่ชิดติดกับทวีปแอนตาร์กติกในบริเวณขั้วใต้ ซึ่งเป็นเขตหนาวเย็น โดยมีหลักฐานเป็นร่องรอยของธารน้ำแข็งในอดีต ในขณะที่ตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย มีหลักฐานบ่งชี้ว่า เคยเป็นเขตร้อนแถบศูนย์สูตรมาก่อน เนื่องจากอุดมสมบูรณ์ด้วยถ่านหินและน้ำมัน ซึ่งเกิดจากการทับถมของพืชในอดีต และหลักฐานจากฟอสซิล
นักธรณีวิทยาเชื่อว่าเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ ในปี 1908 Frank B. Taylor ได้อธิบายปรากฏการณ์ของการที่มหาทวีป 2 แห่ง ซึ่งเคยวางตัวอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือและใต้แตกแยกออกเป็นทวีปขนาดเล็กกว่าและเคลื่อนที่มาทางเส้นศูนย์สูตร นั่นคือมหาทวีปลอเรเซีย (Laurasia) ซึ่งอยู่ทางเหนือและมหาทวีปกอนด์วานา (Gondwanaland) ซึ่งอยู่ทางใต้ โดยเป็นการเคลื่อนที่เฉพาะของเปลือกโลกไซอัล และผลักดันตะกอนทำให้เกิดแนวเทือกเขาทางด้านหน้าที่ทวีปเคลื่อนที่ไปประกอบกับร่องรอยการแตกแยกของทวีปทางด้านหลัง สำหรับแรงที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของทวีปนั้นอธิบายว่า มาจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ซึ่งเข้ามาอยู่ใกล้ชิดโลกมาก ในยุคครีเทเชียส
ต่อมาในปี 1910 Alfred Wegener ได้สร้างแผนที่มหาทวีปใหม่เพียงแห่งเดียว โดยอาศัยรูปร่างแผนที่ของ Snider และตั้งชื่อว่ามหาทวีปพันเจีย ล้อมรอบอยู่ด้วยมหาสมุทรแพนธาลาสซา (Panthalassa) แล้วจึงแตกออกและเคลื่อนที่ไปอยู่ ณ ตำแหน่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ขณะเคลื่อนที่ก็เกิดเทือกเขาด้านหน้า การแตกแยกด้านหลังเหมือนคำอธิบายของ Taylor นอกจากนี้ยังอธิบายว่ารอยชิ้นทวีปที่ขาดหล่นปรากฏเป็นเกาะแก่ง หรือรอยฉีกที่พบเป็นร่องลึกยังปรากฏอยู่บนพื้นมหาสมุทร ขณะเดียวกับที่มีการแทรกดันขึ้นมาของเปลือกโลก ที่มีมวลตั้งต้นมาจากชั้นเนื้อโลก


ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ (Plate Tectonics) 
การศึกษาสภาพธรณีวิทยาของพื้นผิวโลกทำให้ยืนยันได้ว่าผิวโลกต่อเนื่องลงไปถึงด้านล่าง ได้เกิดมีการเคลื่อนที่จริงๆ การเคลื่อนที่มีทั้งไปทางด้านข้างและขึ้นลงตามแนวดิ่ง แต่การแปรเปลี่ยน ของผิวโลกตามทฤษฎีการแยกตัวของทวีปก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากโดยมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและผู้ที่คัดค้าน มีผู้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการแยกตัวของพื้นมหาสมุทร (Seafloor spreading) เช่น B.C. Heezen, H.H. Hess และ R.S. Dietz เป็นต้น โดยทฤษฎีนี้มีใจความสำคัญมาจากการแยกตัวที่พื้นมหาสมุทร ออกจากกันเป็นแนวยาวโดยมีวัสดุจากใต้ชั้นเปลือกโลกแทรกขึ้นมา เย็นตัวแข็งเกิดเป็นพื้นมหาสมุทร ใหม่แล้วก็แยกจากกันออกไปอีกเรื่อย ๆ ในทิศทางตั้งฉากกับรอยแยกนี้ วัสดุที่แทรกขึ้นมาทำให้เกิดเป็นโครงสร้างเทือกเขากลางสมุทร (Mid-Oceanic Ridge) การเคลื่อนที่ออกจากกันของพื้นมหาสมุทรถูกนำไปสัมพันธ์กับลักษณะของเปลือกโลกบริเวณร่องลึกที่พื้นมหาสมุทร (Trench) แนวภูเขาไฟรูปโค้ง (Volcanic arcs) และเทือกเขาสูงใกล้ขอบทวีปแล้วจึงทำให้เกิดเป็นแนวคิดต่อเนื่องว่าชั้นส่วนบนของโลกน่าจะมีลักษณะเป็นแผ่นประสานกัน แผ่นนี้มีทั้งส่วนที่เป็นทวีปและพื้นมหาสมุทร มีการเกิดขึ้นในบางส่วนของแผ่น 

การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก( เพลทเทคโทนิคส์ : Plate tectonics) 
เปลือกโลกเหมือนเปลือกไข่แตกร้าว มีแผ่นหลายแผ่นเรียงชิดติดกันเรียกว่า “เพลต” (Plate) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 เพลต เพลตที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ เพลตแปซิฟิก เพลตอเมริกาเหนือ เพลตอเมริกาใต้ เพลตยูเรเซีย เพลตแอฟริกา เพลตอินโด-ออสเตรเลีย และเพลตแอนตาร์กติก เป็นต้น เพลตแปซิฟิกเป็นเพลตที่ใหญ่ที่สุดและไม่มีเปลือกทวีป มีอาณาเขตหนึ่งในสามของพื้นผิวโลก เพลตทุกเพลตเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างอยู่ตลอดเวลา


                                                 การเคลื่อนตัวของเพลต

กระบวนการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เพลตประกอบด้วยเปลือกทวีปและเปลือกมหาสมุทรวางตัวอยู่บนแมนเทิลชั้นบนสุด ซึ่งเป็นของแข็งในชั้นลิโทสเฟียร์ ลอยอยู่บนหินหนืดร้อนในชั้นแอสทีโนสเฟียร์อีกทีหนึ่ง 

หินหนืด (Magma) เป็นวัสดุเนื้ออ่อนเคลื่อนที่หมุนเวียนด้วยการพาความร้อนภายในโลก คล้ายการเคลื่อนตัวของน้ำเดือดในกาต้มน้ำ การเคลื่อนตัวของวัสดุในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวเพลต เราเรียกกระบวนการเช่นนี้ว่า “ธรณีแปรสัณฐาน” หรือ “เพลตเทคโทนิคส์” (Plate Tectonics) 

- การพาความร้อนจากภายในของโลกทำให้วัสดุในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ (Convection cell) ลอยตัวดันพื้นมหาสมุทรขึ้นมากลายเป็น “สันกลางมหาสมุทร” (Mid-ocean ridge) หินหนืดร้อนหรือแมกม่าซึ่งโผล่ขึ้นมาผลักพื้นมหาสมุทรให้เคลื่อนที่ขยายตัวออกทางข้าง 

- เนื่องจากเปลือกมหาสมุทรมีความหนาแน่นมากกว่าเปลือกทวีป ดังนั้นเมื่อเปลือกมหาสมุทรชนกับเปลือกทวีป เปลือกมหาสมุทรจะมุดตัวต่ำลงกลายเป็น “เหวมหาสมุทร” (Trench) และหลอมละลายในแมนเทิลอีกครั้งหนึ่ง 

- มวลหินหนืดที่เกิดจากการรีไซเคิลของเปลือกมหาสมุทรที่จมตัวลงเรียกว่า“พลูตอน”(Pluton) มีความหนาแน่นน้อยกว่าเปลือกทวีป จึงลอยตัวแทรกขึ้นมาเป็นแนวภูเขาไฟ เช่น เทือกเขาแอนดีสทางฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้
รอยต่อของขอบเพลต (Plate boundaries) 
- เพลตแยกจากกัน (Divergent) เมื่อแมกม่าในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ดันตัวขึ้น ทำให้เพลตจะขยายตัวออกจากกัน แนวเพลตแยกจากกันส่วนมากเกิดขึ้นในบริเวณสันกลางมหาสมุทร 

- เพลตชนกัน (Convergent) เมื่อเพลตเคลื่อนที่เข้าชนกัน เพลตที่มีความหนาแน่นสูงกว่าจะมุดตัวลงและหลอมละลายในแมนเทิล ส่วนเพลตที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าจะถูกเกยสูงขึ้นกลายเป็นเทือกเขา เช่น เทือกเขาหิมาลัย เกิดจากการชนกันของเพลตอินเดียและเพลตเอเชีย เทือกเขาแอพพาเลเชียน เกิดจากการชนกันของเพลตอเมริกาเหนือกับเพลตแอฟริกา 

- เพลตเฉือนกัน (Transform fault) เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ มักเกิดขึ้นในบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทร แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง เช่น รอยเลื่อนแอนเดรียส์ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดจากการเคลื่อนที่สวนกันของเพลตอเมริกาเหนือและเพลตแปซิฟิก
โครงสร้างทางธรณีวิทยาของประเทศไทย 
ประเทศไทยประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก (Plate) ขนาดเล็กเป็นรอยตะเข็บเชื่อมต่อ 2 แผ่นที่แยกตัวออจากแผ่นเปลือกโลกกอนนด์วานา หรือประเทศออสเตรเลียในปัจจุบันคือ
แผ่นเปลือกโลกชาน – ไทย
อยู่ทางทิศตะวันตกของไทยครอบคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ของไทย ครอบคลุมด้านตะวันออกของพม่า และบริเวณประเทศมาเลเซีย ตอนเหนือเกาะสุมาตรา มีหนตั้งแต่มหายุคพรีแคมเบียน มหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคมีโซโซอิกและ มหายุคซีโนโซอิก

แผ่นเปลือกโลกอินโดจีน
อยู่ทางทิศตะวันออก ครอบคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของไทย ประเทศลาวและกัมพูชา เวียตนาม รองรับด้วยหินมหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคมีโซโซอิกและมหายุคซีโนโซอิกเป็นส่วนใหญ่
เมื่อ 465 ล้านปีก่อนดินแดนประเทศไทยยังแยกตัวอยู่ใน 2 อนุทวีปฉานไทย(ส่วนของ ภาคเหนือลงไปถึงภาคตะวันออกและภาคใต้) และอนุทวีปอินโดจีน (ส่วนของภาคอิสาน) อนุทวีปทั้งสองขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนดินกานด์วานา
ต่อมาประมาณ 400-300 ล้านปีก่อนดินแดนประเทศไทยทั้งส่วนอนุทวีปฉานไทยและอนุทวีปอินโดจีน ได้เคลื่อนที่แยกตัวออกจากผืนแผ่นดินกอนด์วานา แล้วหมุนตัวตามเข็มนาฬิกาขึ้นไปทางเหนือ
เมื่อประมาณ 220 ล้านปีก่อนอนุทวีปฉานไทยได้ชนกับอนุทวีปอินโดจีนรวม กันเป็นอนุทวีปที่เป็นปัจจุบันเรียกว่าคาบสมุทรมลายูแล้วไปรวมกับจีนตอนใต้รวมกันเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย จากนั้นประเทศไทยในคาบสมุทรมลายูได้เคลื่อนที่ มาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน 
การที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนตัวเข้ามาชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในช่วงยุคเทอร์เชียรีทำให้ชั้นหินของแนวสุโขทัย (Sukhothai Fold Belt) และชั้นหินแนวเลย-เพชรบูรณ์ (Loei-Petchabun Fold Belt) ซึ่งอยู่ระหว่างขอบรอยต่อ ของแผ่นเปลือกโลกชาน -ไทยและอินโดจีนเกิดการคดโค้งตัว และพัฒนาเกิดแนวรอยเลื่อนที่ สำคัญในประเทศไทยหลายแนวด้วยกัน อาทิ รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) ในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เช่น รอยเลื่อนแม่ปิง รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้เช่น รอยเลื่อนอุตรดิตถ์-น่าน รอยเลื่อนระนอง รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย เป็นต้น


ระดับความรุ่นแรงของแผ่นดินไหวที่วัดด้วยมาตราเมอร์คัลลี่
  1. คนรับความรู้สึกไม่ได้
  2. คนนั่งอยู่นิ่ง ๆ จะรู้สึก
  3. ของที่แขวนอยู่จะแกว่ง คนที่อยู่ในอาคารสูงจะรู้สึก ถึงแรงสั่นสะเทือนเหมือนมีรถบรรทุกขนาดเล็กแล่นผ่านในระยะใกล้ ๆ
  4. ประตูหน้าต่างจะสั่น รถยนต์จะสั่น แรงสั่นเทียบได้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่แล่นผ่านในระยะใกล้ ๆ
  5. ของเหลวในภาชนะจะสั่นจนหก คนที่นอนหลับในอาคารจะรู้สึกตัวจนตื่น ประตูจะปิดเปิดไปมา
  6. ทุกคนจะรู้สึกในแรงสั่นสะเทือนจน
  7. ตกใจและไม่สามารถเดินได้มั่นคง
  8. ระฆังใบเล็กจะแกว่งเกิดเสียงดังเองได้
  9. คนยังเดินทรงตัวอยู่ได้ ของที่วางไว้จะตกจากชั้นวาง ระฆังใบใหญ่จะแกว่งจนเกิดเสียงดังเอง คนที่ขับรถอยู่จะควบคุมรถลำบาก
  10. อาคารบ้านเรือนที่สร้างไม่แข็งแรงจะพังทลายกิ่งไม้จะหัก บนแผ่นดินจะมีรอยแยกให้เห็น
  11. คนจะแตกตื่นไปทั่ว เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำอาจเสียหาย มีแผ่นดินแยกจากกันให้เห็นอย่างชัดเจน
  12. ตึกใหญ่ ๆ จะพังทลาย มีการเลื่อนไหลของแผ่นดิน น้ำจะกระฉอกออกจากแม่น้ำลำธารและทะเลสาบ
  13. รางรถไฟจะบิดงอ
  14. วัตถุที่ติดอยู่กับพื้นดินทุกอย่างจะ
  15. พังทะลายยย่อยยับ แทบไม่มีอะไรคงรูปอยู่
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ 

การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่
  1. การตัดไม้ทำลายป่า เกิดจากการกระทำเพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยนำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย ทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ป่าไม้จึงถูกทำลายมากขึ้น ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ดินขาดความชุมชื่น หน้าดินไม่มีพืชปกคลุมจะถูกกระแสลม กระแสน้ำ พัดพาหน้าดินไปได้ง่าย เกิดการพังทลายของหน้าดิน เกิดภาวะน้ำท่วม เพราะพื้นดินดูดซับน้ำได้น้อย
  2. การเกษตรกรรม การปลูกพืช การทำสวนทำไร่ ซึ่งต้องมีการไถพรวน พลิกหน้าดิน เพื่อปรับพื้นที่ให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก การขุดร่องน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมทำให้พื้นดินเกิดการทรุดตัว
  3. การชลประทานการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำ ในบริเวที่เป็นภูเขาต้องมีการทำลายป่า
  4. การทำเหมืองแร่ ต้องมีการขุดเจาะสำรวจหา แร่ แหล่งเชื้อเพลิง พื้นที่บริเวณดังกล่าวจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
  5. การทำอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง มีการขุดเจาะหน้าดินเพื่อวางรากฐานการก่อสร้าง มีการระเบิดภูเขา เพื่อนำหินมาใช้ในการก่อสร้าง มีการปรับพื้นที่ในการก่อสร้างโรงงาน
ผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เมื่อภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงไป เช่น เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง เกิดภูเขาไฟระเบิด ผิวโลกบางส่วนอาจแยกตัวออก บางส่วนอาจเกิดการถล่มถลายและยุบตัวลง หินหนืดที่ไหลออกจากปล่องภูเขาไฟก็จะเผาไหม้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณที่หินหนืดนั้นไหลผ่าน
ผลการศึกษาทางธรณีวิทยาทำให้เราทราบว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงทุกขณะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้เตรียมพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นในภาคต่างๆของประเทศไทย 
การแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย การแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ แบ่งเพื่อให้เกิดความเข้าใจในภูมิภาคหรือดินแดนนั้นๆ

หลักเกณฑ์ในการแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทยตามคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ มีหลักเกณฑ์ 3 ประการ
  1. หลักเกณฑ์ทางกายภาพ เป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญอันดับแรกในการพิจารณากำหนดเขตภูมิภาคให้ตรงกับองค์ประกอบทางกายภาพที่มีอยู่ในประเทศไทยคือ แบ่งพื้นดินที่มีลักษณะภูมิประเทศธรณีวิทยา ธรณีสันฐานวิทยา ภูมิอากาศ ดิน พืชพรรณธรรมชาติ รวมทั้งระบบการระบานน้ำที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือระบบเดียวกันให้อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เช่น ลักษณะทางธรณีวิทยาที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของแผ่นดินรูปร่างที่คล้ายคลึงกันเช่น การโค้งงอของแผ่นธรณี การสึกร่อน ลักษณะธรณีสันฐานที่เป็นหินอัคนี หินตระกอน หินแปร
     
  2. หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม เป็นหลักเกณฑ์สำคัญอันดับสองในการพิจารณา ได้แก่ ลักษณะของประชากร คือการตั้งถิ่นฐาน จำนวนประชากร เชื้อชาติภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม ขนบธรรมเนียบประเพณี อุปนิสัยในการบริโภค หลักเกณฑ์นี้ คำนึงถึงความชัดเจนในเขตที่แคบ
     
  3. หลักเกณฑ์ทางเอกสารวิชาการภูมิศาสตร์และหลักฐานอย่างอื่น เป็นผลงานที่มีผู้เคยศึกษาไว้ เช่น แผนที่ของกรมแผนที่ทหาร แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่กรมอุตุนิยมวิทยา แผนที่ป่าไม้ แผนที่ประชากร ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียม ตำราที่เขียนขึ้นโดยนักภูมิศาสตร์ไทยและต่างประเทศ
ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แบ่งโดยพิจารณา ลักษณะภูมิประเทศที่เด่น ลักษณะดินฟ้าอากาศ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมตามคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติแบ่งออกเป็น 6 ภาคคือ

1. ภาคเหนือ มี 9 จังหวัด
2. ภาคตะวันตกมี 5 จังหวัด
3. ภาคใต้มี 14 จังหวัด
4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 19 จังหวัด
5. ภาคตะวันออก มี 7 จังหวัด
6. ภาคกลาง มี 22 จังหวัด


ที่มา
http://www.baanjomyut.com/library_2/changes_in_the_earth/07.html
จัดทำโดย
นาย เอกธาดา รสทิพย์ ม.4/8 เลขที่ 12



1 ความคิดเห็น: